เมนู

อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ
จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีต อนาคต ปัจจุบัน รูปที่เห็น เสียง
ที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ว่าของเรา. คำว่า สังขาร
อะไร ๆ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อะไร ๆ. คำว่า
ในโลก คือ ในอบายโลก ฯลฯ อายตนโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ไม่พึงถือสังขารอะไร ๆ ว่าของเราในโลก เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
ภิกษุไม่พึงเป็นผู้โลเลด้วยจักษุทั้งหลาย พึงป้องกันหู
จากคามกถา ไม่พึงติดใจในรส ไม่พึงถือสังขารอะไร ๆ
ว่าของเราในโลก.

[737] ภิกษุพึงเป็นผู้ถูกผัสสะกระทบเข้าแล้ว เมื่อใด เมื่อนั้น
ไม่พึงทำความรำพันในที่ไหน ๆ ไม่พึงปรารถนาภพ และ
ไม่พึงหวั่นไหวในเพราะความขลาดกลัว.


ว่าด้วยโรคต่าง ๆ


[738] คำว่า ภิกษุพึงเป็นผู้ถูกผัสสะกระทบเข้าแล้ว เมื่อใด
ความว่า ภิกษุพึงเป็นผู้ถูกผัสสะ คือโรคถูกต้อง ครอบงำ กลุ้มรุม
ประกอบเข้าแล้ว คือเป็นผู้ถูกโรคจักษุ โรคตา โรคจมูก โรคลิ้น โรค
ทางร่างกาย โรคทางศีรษะ โรคในหู โรคปาก โรคฟัน โรคไอ โรค
หืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เชื่อมซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ
โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรค

มงคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิตเปื่อย โรคหิตด้าน โรคหูด โรคละลอก
โรคคุดทะราด โรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม
โรคพุพอง โรคริดสีดวง อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็น
สมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธสันนิบาต อาพาธเกิดขึ้นแต่
ฤดูแปรปรวน อาพาธเกิดขึ้นแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธเกิดขึ้น
แต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธเกิดขึ้นแต่วิบากของกรรม ความหนาว
ความร้อน ความหิว ความกระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ความ
สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาน ถูกต้อง ครอบงำ
กลุ้มรุม ประกอบเข้าแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุพึงเป็นผู้ถูกผัสสะ
กระทบเข้าแล้ว เมื่อใด.
[739] คำว่า เมื่อนั้น ไม่พึงทำความรำพันในที่ไหน ๆ ความว่า
ภิกษุนั้นไม่ควรทำความรำพัน ความร่ำไห้ อาการรำพัน อาการพูดถึง
ความเป็นผู้รำพัน ความเป็นผู้พูดถึง ความร่ำไร ความเพ้อ ความ
บอกเล่า อาการที่บอกเล่า ความเป็นผู้บอกเล่า คือไม่พึงให้เกิด ไม่ให้
เกิดพร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ. คำว่า ในที่ไหน ๆ คือใน
ที่ไหน ๆ ในที่ทุกแห่งในภายใน ในภายนอก ทั้งในภายในและภายนอก
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อนั้น ไม่พึงทำความรำพันในที่ไหนๆ.
[740] คำว่า ไม่พึงปรารถนาภพ ความว่า ไม่พึงปรารถนา
ไม่พึงปรารถนาทั่ว ไม่พึงปรารถนาเฉพาะ ซึ่งกามภพ รูปภพ อรูปภพ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงปรารถนาภพ.

ว่าด้วยภัยและความขลาดกลัว


[741] ชื่อว่า ความขลาดกลัว ในคำว่า และไม่หวั่นไหว
ในเพราะความขลาดกลัว
ความว่า ภัยก็ดี ความขลาดกลัวก็ดี โดย
อาการก็อย่างเดียวกัน สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภัย ความ
ขลาดกลัวนี้นั้น ย่อมมีมาแน่ ภัยนั้นท่านกล่าวว่ามีวัตถุภายนอกเป็น
อารมณ์ คือราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี เสือดาว หมาป่า โค
กระบือ ช้าง งู แมลงป่อง ตะขาบ โจร คนที่ทำกรรมชั่ว คนที่เตรียม
จะทำกรรมชั่ว อนึ่ง โดยอาการอื่น ความกลัว กิริยาที่กลัว ความหวาด
หวั่น ความเป็นผู้มีขนลุก อันเกิดแก่จิตในภายใน ความหวาดเสียว ความ
สะดุ้งแห่งจิต ภัยแต่ชาติ ภัยแต่ชรา ภัยแต่พยาธิ ภัยแต่มรณะ ภัยแต่
พระราชา ภัยแต่โจร ภัยแต่ไฟ ภัยแต่น้ำ ภัยแต่ความติเตียนตน ภัย
แต่ความติเตียนผู้อื่น ภัยแต่อาชญา ภัยแต่ทุคติ ภัยแต่คลื่น ภัยแต่จระเข้
ภัยแต่วังวน ภัยแต่ปลาร้าย ภัยแต่การเลี้ยงชีพ ภัยแต่ความติเตียน ภัย
แต่ความครั่นคร้ามในประชุมชน ความขลาด ความหวาดหวั่น ความ
เป็นผู้มีขนลุก ความหวาดเสียว ความสะดุ้งแห่งจิต เรียกว่าภัย.
คำว่า ไม่พึงหวั่นไหวในเพราะความขลาดกลัว คือภิกษุเห็นหรือ
ได้ยินวัตถุที่น่ากลัว ไม่พึงสะดุ้งสะทกสะท้าน หวั่นไหว หวาดเสียว
ครั้นคร้าม เกรงกลัว ถึงความสะดุ้งกลัว คือพึงเป็นผู้ไม่ขลาด ไม่
หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่หนีไป พึงเป็นผู้ละความกลัวความขลาดเสีย
ปราศจากความเป็นผู้มีขนลุกขนพองอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึง
หวั่นไหวในเพราะความขลาดกลัว เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสตอบว่า